วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
 
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
 
 
ในวันนี้เรียนทฤษฎีของวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย
- ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ การตี
3. การตบมือหรือดีดนิ้ว
- ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง......
- ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัย

เมื่อพิจารณาจากความพร้อมและความสนใจของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
4. การเล่นเกมประกอบเพลง
5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่
องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ
หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมตามธรรมชาติ
ชีวิตรอบตัวเด็ก
ชีวิตสัตว์ต่างๆ
ความรู้สึก
เสีงต่างๆ

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  • การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
  • การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  • การฝึกความจำ
  • การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
  • การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  • การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  • เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  • เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  • เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
  • สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • ครูควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ ความกล้า
  • ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป
แนวทางการประเมิน
  • สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
  • สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  • สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  • สังเกตการแสดงออก
  • สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
 
ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้ออกมาเต้นเพลงของตนเองที่ไปฝึกมา
 
 
 
 
 
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำท่าเต้นไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนุกกับการทำกิจกรรม มีความสุขทุกครั้งที่เรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก เสมอต้นเสมอปลาย มีแนวการสอนที่น่าสนใจ 
 
 

              การบันทึกครั้งที่ 1 / วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ 
  • อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการพูดคุยกับนักศึกษาและอธิบายเนื้อหาของวิชานี้ เมื่อเพื่อน ๆ เข้าห้องเรียนครบแล้ว อาจารย์ก็ให้ยืนเป็นครึ่งวงกลม แล้วพาฝึกทำสมาธิอย่างง่าย เช่น มือซ้ายจับจมูก มือขวาจับหูซ้าย, มือซ้ายจีบ มือขวาทำรูปตัว L, มือซ้ายยกนิ้วโป้ง มือขวายกนิ้วก้อย สลับไปมา 10 ครั้ง เป็นต้น
 
 
เริ่มเข้าสู่กิจกรรมโดยการเต้น T26 ของครูนกเล็ก อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าและเสียงของสัตว์ที่ตนเองชอบ แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน โดยให้เพื่อน ๆ ทำไปพร้อม ๆ กัน
 



 
เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์จึงให้การบ้านว่า ให้ทุกคนไปฝึกเต้น เพลงอะไรก็ได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ต้นจนถึงท่อนฮุก แล้วให้ออกมาเต้นหน้าห้องเรียนในชั่วโมงต่อไป
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เราสามารถนำวิธีการฝึกสมาธิอย่างง่ายมาใช้ในการเรียน การทำงาน หรือเมื่อเตรียมพร้อมที่จะทำอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายไปในตัวด้วย
  • เพลง T26 ของครูนกเล็ก ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่ คือ การนำเพลงที่เด็กชอบ หรือเพลงที่ฮิตกันในช่วงนั้น มาดัดแปลงเป็นเพลงที่จะสอนให้เด็กได้รู้จักสัตว์ต่าง ๆ พร้อมท่าทางและเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ และเพลงต้นฉบับ ที่อาจารย์ให้แต่ละคนคิดท่าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน ทำให้เราสามารถนำไปสอนเด็กได้จากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัว และในขณะเดียวกัน อาจจะมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครูกับเด็ก ๆ
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ มีความสนุกสนานในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ