วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน  พ.ศ.2559


 

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (Music & movement) 

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง หมายถึง การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายด้วยการแสดงท่าทางให้สอดคล้องและเข้ากับ จังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลงเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ใน ช่วงกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย การเคลื่อนไหวประกอบเพลง มุ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะ ทำนอง และเสียงเพลง จากการใช้ร่าง กายเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางต่างๆให้สอดคล้องจังหวะ ท่วงทำนอง และเนื้อหาของเพลง โดยครูอาจจัดให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลงทั้งเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้ รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกัน 

แหล่งที่มา การเคลื่อนไหวประกอบเพลงมีดังนี้ >.<

            อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน
            อันดับที่สอง ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงตามหน่วยต่างๆ พร้อมให้เด็กทำท่าประกอบตามจินตนาการ และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง

                                 ภาพกิจกรรมในห้องเรียน

 
 
 


 

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน  พ.ศ.2559

 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยให้ผู้ฝึกเกิดความแข็งแรง ความคล่องแคล่ว และมีการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ

การเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้อุปกรณ์ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยมีอุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถฝึกปฏิบัติหลายแบบ เช่น นำสิ่งของที่อยู่รอบตัวมาใช้ในการสอนได้หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเอง

 

 อุปกรณ์ของดิฉัน 

1. เชือก

2. รูปภาพดาว ท้องฟ้า หน้ายิ้มหรือดวงจันทร์ก็ได้

การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์มีดังนี้

อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน

 

 อันดับที่สอง ครูแนะนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา พร้อมให้เด็กทำตามคำสั่งของครู

เช่น ให้เด็กแกว่งพู่ไปทางซ้าย ทางขวา ข้างลำตัว เป็นต้น

สามารถบรูณาการวิชาคณิตศาสตร์เรื่องของทิศทาง ตำแหน่งต่างๆได้ด้วย

 

 

 หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง

 

 

 

 ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 
 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย การเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง การเคลื่อนไหวประกอบเพลงและการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


 

 



การบันทึกครั้งที่ 15

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ.2559

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน  พ.ศ.2559

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันสงกรานต์)

  การบันทึกครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2559

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

    กิจกรรมวันนี้ คือ การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงโดยอาจารย์ให้สอนเป็นคู่  เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงเลยก็ได้ตามหน่วยต่างๆ เคลื่อนไหวตามข้อตกลง ดังนี้น

วันนี้คุณครูหนึ่งและคุณครูเค้กสอน

อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน


 อันดับสอง ครูให้เด็กๆจับมือกันเป็นวงกลมแล้วแจกบัตรภาพคนละ 1 ภาพ


  อันดับสาม ให้เด็กๆ ตั้งใจฟังคำสั่งของครูและปฏิบัติตามทันที

 หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ควรให้เด็กๆผ่อนคลายทุกครั้ง

คุณครูกวางและคุณครูกายสอน

 
 


                        วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

    กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากคาบที่แล้วคือกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง เริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหมือนเดิม ครูกำหนดสัญญาณให้เด็ก เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้เด็กลุกขึ้นหาพื้นที่ของตนเอง และเริ่มทำการเคลื่อนไหว เมื่อเสร็จแล้วอาจจะให้เด็กกลับมานั่งที่เดิมหรือจะอธิบายการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงเลยก็ได้ตามหน่วยต่างๆ

เคลื่อนไหวตามข้อตกลง ดังนี้

วันนี้คุณครูหนิงและคุณครูเป้สอน

อันดับแรก ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบพื้นฐาน

 
 
 


ภาพกิจกรมเพิ่มเติม

 
 

การประเมินผล

  ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง

  ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน

  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

การบันทึกครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลง เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีอะไรตายตัว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง
1.ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี มุมบ้าน เป็นต้น
2.ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบเดินเร็วๆ เดินแบบช้าๆตามจังหวะการเคาะ เป็นต้น
3.ให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำพูดที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวท่าแมวไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบเสือไปที่มุมบ้าน เป็นต้น
4.ให้เด็กเคลื่อนไหวตามภาพที่ครูสั่ง เช่น ภาพวงกลมให้เด็กทำท่าส่ายเอว ภาพสี่เหลื่ยมให้เด็กทำท่่ากระโดดอยู่กับที่ เป็นต้น
5.ครูตบมือ 1 ครั้ง เด็กๆจับหัว ครูตบมือ 2 ครั้งเด็กๆจับไหล่ ครูตบมือ 3 ครั้ง เด็กๆจับเอว เป็นต้น
6.หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ นวดไหล่ นวดแขน นวดขา บิดตัว เป็นต้น
อาจารย์สาธิตวิธีการสอน

 
 
 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนหวพื้นฐาน การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย และการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง

การบันทึกครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

        กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย

ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหว เด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ
ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆ ลืมตา เป็นต้น  

 
 


ภาพกิจกรรมเพิ่มเติ่ม

 
 


                         วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม  พ.ศ.2559

  

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

        กิจกรรมวันนี้ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วคือให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาแสดงบทบาทเป็นครู โดยทำการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  กิจกรรมตามคำบรรยาย กิจกรรมผ่อนคลาย

  • ขั้นแรก กิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยการเคาะจังหวะโดยครูเป็นผู้ให้สัญญาณ ครูอธิบายกิจกรรม กำหนดจังหวะสัญญาณการเคลื่อนไหวเด็กๆลุกขึ้นยืน แล้วหาพื้นที่ของตัวเอง ลองกางแขนออกดูว่าชนกับเพื่อนไหม ถ้าชนให้ขยับออก เมื่อครูให้จังหวะเด็กๆเริ่มก้าว เคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง

  • ขั้นที่สอง กิจกรรมตามคำบรรยาย โดยครูจะบรรยายไปตามจินตนาการโดยให้เด็กๆ ทำท่าทางประกอบ

  • ขั้นที่สาม กิจกรรมผ่อนคลาย โดยครูจะบรรยายไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆให้เด็กๆผ่อนคลายไปตามเนื้อเรื่องของครู เช่น เด็กๆ ค่อยๆ เดินไปที่เตียงนอนที่นุ่มๆ หอมๆ อากาศเย็นสบาย มีกลิ่นหอมมาแตะจมูกของเด็กๆ จากนั้นเด็กๆ ค่อยๆ หลับตาลง ครูนับ 1 2 3 4 5 แล้วให้เด็กๆลืมตา เป็นต้น 

 
 

กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบ การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดข้อตกลงแล้วให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น

  1. ให้เด็กเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวไปที่มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมดนตรี เป็นต้น 

  2. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามสัญญาณที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบกระโดดขาเดียว กระโดดเป็นกระต่าย เดินแบบช้าๆ เป็นต้น

  3. ให้เด็กเคลื่อนไหวตามรูปภาพที่ครูสั่ง เช่น เคลื่อนไหวแบบรูปเต่าไปที่มุมดนตรี เคลื่อนไหวแบบรูปลิงไปที่มุมบ้าน เป็นต้น

*หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดขมับ บีบแขน บีบขา เป็นต้น

 
 
 

ข้อเสนอแนะ

   1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก

   2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ

   3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้อง เคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล และเป็นคู่ เป็นกลุ่มไม่ควรเกิน 5-6 คน

   4. ควรใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเศษวัสดุต่างๆเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผ้า ท่อนไม้ เข้ามาช่วยในการเคลื่อนไหว และให้จังหวะ

   5. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง

   6. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน

   7. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น

   8. กรณีเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตามสมัครใจ

   9. หลังจากเด็กได้ร่วมออกกำลังเคลื่อนไหวจังหวะต้องให้เด็กพักผ่อนโดยให้นอน เล่นบนพื้นห้อง นอนพัก หรือเล่นสมมติเป็นจังหวะช้าๆ เบาๆ สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน

   10. การจัดกิจกรรมควรจัดตามกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน และควรจัดให้เป็นที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กอย่างถูกวิธี รู้จักการนำการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ระดับไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะของเด็ก เทคนิควิธีการผ่อนคลอยหลังเด็กทำกิจกรรมให้เด็กได้พักนิ่งๆอย่างน้อย 15 วินาที 

การประเมินผล

  ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตอบคำถามทุกครั้ง

  ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน

  ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น