วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559


 เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559

ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนทฤษฎีเกี่ยวกับ กิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ


 


 

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 

1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ

2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง

3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา

4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย

5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวเบื้องต้น

 

           เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหารหรือการกระโดดของกบ การควบม้า 

           เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบาๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

การเล่นเกมประกอบเพลง

การเล่นเกมต่างๆ ของไทย

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง

การเต้นรำพื้นเมือง


 

เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง

       เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา

 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

การเดิน

การวิ่ง

การกระโดดเขย่ง

การกระโจน

การโดดสลับเท้า

การสไลด์

การควบม้า

 

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

การเคลื่อนไหวแบบยืนอยู่กับที่

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่จากที่เดิม

การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์หรือวัตถุ

การรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย

                การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง 

บริเวณและเนื้อที่

               การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นเพียงการขยับเขยื้อนร่างกายบางส่วนหรือการเคลื่อนตัวย่อมต้องการบริเวณและเนื้อที่ที่จะเคลื่อนไหวได้จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตลอดเวลา

 

ระดับการเคลื่อนไหว

           ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น

 

ทิศทางของการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ

 

การฝึกจังหวะ การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี

การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง

การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ

การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน

ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด

ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง 

สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก

ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

 

แนวทางการประเมิน

สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย

สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน

สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง

สังเกตการแสดงออก

 

สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559

(ไม่มีการเรียนการสอน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น